Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
(เกาะติประมูลDigital TV) จับตา ช้างชนช้าง !! ประมูล Digital TV // THAIpbs ประกาศ ก็ตั้งใจทำช่องที่ 2 เพิ่มด้วย vote ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก


การเกิดของทีวีดิจิตอลในช่องฟรีทีวี โดยเฉพาะช่องธุรกิจ ที่กสทช.กำหนดให้มี 24 ช่อง จะทำให้เกิดการแข่งขันกันรุนแรง โดยบริษัทสื่อที่มีอยู่ในไทย มีแนวโน้มเข้าร่วมประมูลทั้งหมด ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เช่น เวิร์คพ้อยท์ แกรมมี่ อาร์เอส หรือ เนชั่น ซึ่งต่างก็มีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งด้านงบลงทุน การผลิตเนื้อหาป้อนช่องรายการ การส่งเสริมงานด้านบริการ หรือ อีเวนต์ต่างๆ การฝึกอบรมบุคลากร หรือ ให้เช่าอุปกรณ์ถ่ายทำรายการ เพื่อแข่งขันทั้งในประเทศ รวมถึงการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558
 

การเกิดของทีวีดิจิตอล 48 ช่อง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและแข่งขันในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก โดยมิติของการลงทุน จะเอื้อประโยชนต่อผู้ประกอบการรายใหญ่ จากฝั่งฟรีทีวีกลุ่มเดิมที่ต้องการรักษาตลาด รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า พร้อมเห็นว่า จะมีครัวเรือนที่รับชมทีวีระบบดิจิตอล ตามเมืองใหญ่ มากถึงร้อยละ 80% และจะทำให้ กล่องรับสัญญาณ หรือ Set-top box ที่รองรับระบบนี้ เพิ่มขึ้นรวมกัน กว่า 7,000,000 เครื่อง แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้เป็นไปอย่างล่าช้า ไทยก็จะมีความเสี่ยง เกี่ยวกับอุปกรณ์การใช้งานในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากทั่วโลกจะยกเลิกผลิตอุปกรณ์ที่ใช้กับเทคโนโลยีในระบบอนาล็อก และยังส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาปีละ 60,000 ล้านบาท กระจุกตัวอยู่แค่ช่องฟรีทีวีเหมือนเดิม


THAIPBS

ในปีหน้า เมื่อฟรีทีวีระบบดิจิตอลเกิดขึ้นอีก 48 ช่อง ฝ่ายเกี่ยวข้องประเมินว่าจะเกิดแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ ซึ่งนอกจากช่องที่มีในปัจจุบันแล้ว ในอนาคต ไทยพีบีเอสก็ตั้งใจทำช่องที่ 2 เพิ่มด้วย เน้นเนื้อหาด้านเยาวชน การศึกษา วิทยาศาสตร์ สาธารณสุข เป็นหลัก โดยเตรียมงบลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเพื่อเป็นแม่ข่ายหลักให้ผู้ประกอบกิจการช่องอื่นเช่าโครงข่ายอุปกรณ์ รวมทั้งการสร้างความแข็งแกร่งด้านเนื้อหาที่ต้องแข่งขันกับทีวีช่องสาธารณะที่จะเกิดขึ้นใหม่อีก 12 ช่อง










______________________________________

ความพร้อมของ "ไทยพีบีเอส" ต่อการก้าวเข้าสู่ทีวีระบบดิจิตอล




การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินที่ กสทช.กำหนดให้มีฟรีทีวีเกิดขึ้นใหม่อีก 48 ช่อง ซึ่งสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเองเตรียมพร้อมต่อการพัฒนาช่องปัจจุบันให้เข้าสู่ระบบดิจิตอล โดยจะเริ่มทดลองออกกาศในบางพื้นที่ในเดือนมกราคมปีหน้า ขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ และเพิ่มศักยภาพขององค์กร ไทยพีบีเอสก็ตั้งใจจะทำช่องไทยพีบีเอส ช่องที่ 2 ให้เกิดขึ้น โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น รวมทั้งศักยภาพที่มียังทำให้ไทยพีบีเอสสามารถเป็นแม่ข่ายหลักให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่นมาเช่าอุปกรณ์โครงข่ายเพื่อทำระบบดิจิตอลในอนาคตได้ด้วย

เป็นเวลาเกือบ 5 ปีที่ผู้ชมไทยพีบีเอสสามารถรับชมข่าว และรายการต่างๆ ของสถานีด้วยรูปแบบการแพร่ภาพสัญญาณภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกที่ใช้เสาก้างปลา หรือหนวดกุ้ง เหมือนช่องฟรีทีวีทั่วไป ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และด้วยโลกเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งนโยบายของ กสทช.ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านการแพร่ภาพสัญญาณจากอนาล็อก ไปสู่ ระบบที่เรียกว่า ดิจิตอล ภาคพื้นดิน โดยไม่ใช่รูปแบบยิงสัญญาณผ่านดาวเทียม ซึ่งมีจุดเด่นทำให้การดูทีวีมีภาพคมชัดกว่าปัจจุบ้น และยังเพิ่มจำนวนช่องฟรีทีวีได้อีก 48 ช่องในปีหน้า

และในระหว่างที่รอรับใบอนุญาตเป็นทางการจาก กสทช. ไทยพีบีเอสจึงได้ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทดลองออกอากาศระบบดิจิตอลให้ประชาชนรับชมในเดือนมกราคมปีหน้า ขณะที่สถานีโทรทัศน์โมเดินไนน์ ทีวี และช่อง 11 เอ็นบีที ก็จะทดลองในจังหวัดต่างๆ แตกต่างกันไป โดยทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ

ในปีหน้า เมื่อฟรีทีวีระบบดิจิตอลเกิดขึ้นอีก 48 ช่อง ฝ่ายเกี่ยวข้องประเมินว่าจะเกิดแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ ซึ่งนอกจากช่องที่มีในปัจจุบันแล้ว ในอนาคต ไทยพีบีเอสก็ตั้งใจทำช่องที่ 2 เพิ่มด้วย เน้นเนื้อหาด้านเยาวชน การศึกษา วิทยาศาสตร์ สาธารณสุข เป็นหลัก โดยเตรียมงบลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเพื่อเป็นแม่ข่ายหลักให้ผู้ประกอบกิจการช่องอื่นเช่าโครงข่ายอุปกรณ์ รวมทั้งการสร้างความแข็งแกร่งด้านเนื้อหาที่ต้องแข่งขันกับทีวีช่องสาธารณะที่จะเกิดขึ้นใหม่อีก 12 ช่อง

ข้อกำหนดของ กสทช.ที่ต้องมีทีวีประเภทสาธารณะ เกิดขึ้นอีก 12 ช่อง แต่นายธวัชชัย จิตภานันทน์ หนึ่งในกรรมการ กสทช. และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยบริษัทที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลเห็นสอดคล้องว่าไทยพีบีเอสมีความได้เปรียบคู่แข่งในตลาดทีวีดิจิตอล เพราะเป็นสื่อสาธารณะอยู่แล้ว และการมีทีวีสาธารณะ รวม 12 ช่องจะทำให้เกิดกลุ่มผู้ชมเฉพาะมากขึ้นด้วย

การให้บริการประเภททีวีสาธารณะที่มี 12 ช่อง เป็นหนึ่งใน 3 กลุ่มประเภทที่ กสทช.กำหนดไว้ โดยกลุ่มชุมชน และสาธารณะสามารถขอใบอนุญาตประกอบกิจการกับ กสทช.ได้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจอีก 24 ช่อง จะต้องประมูลแข่งกันเท่านั้น โดยแผนเปลี่ยนผ่านดิจิตอลทีวีแบ่งเป็น 3 ระยะ แบบค่อยเป็นค่อยไปควบคู่กับระบบอนาล็อก เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคที่รับชมโทรทัศน์ได้กว่า 20 ล้านครัวเรือน


THAIpbs
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%84%E0%B8%A7%
E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%
89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%
B8%87-
%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8
%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0
%B8%AA-
%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B
2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%
A7%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8
%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B
8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%
B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0
%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5


_________________________________


จับตา การแข่งขันทีวี"ดิจิตอล" ปี 56 Thu, 20/12/2012



การแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ทีจะเกิดขึ้นในปีหน้า (56) รวมทั้งธุกิจสื่อทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลทีวีในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการคาดกันว่า ปีหน้าการแข่งขันในตลาดธุรกิจสื่อทีวีจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และโดยเฉพาะช่องทีวีดิจิตอลในระบบฟรีทีวี ที่จะมีเพิ่มอีกอย่างน้อย 48 ช่องนั้น อาจทำให้ราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาต มีหลายราคา เริ่มตั้งแต่ระหว่าง 100 ล้านบาท จนถึง กว่า 1,000 ล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้รู้ว่า ผู้ประกอบการกิจการจะสนใจร่วมลงทุนหรือไม่

                       
นับเป็นอีกก้าวที่ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี ทำบันทึกความร่วมมือร่วมกับ กสทช.เพื่อทดลองระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ที่หลายช่องเริ่มทดลองออกอากาศแล้ว ในช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ตามกรอบ กสทช.กำหนดให้มีทีวีระบบดิจิทัล ในช่องฟรีทีวีเพิ่มอีกอย่างน้อย 48 ช่อง ซึ่งระบบนี้ จะทำให้ภาพมีความคมชัดสูง และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ก็ทำให้ทีวีลูกเล่นมากขึ้น
                       
ปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ประกอบกิจการ สนใจลงทุนทีวีดิจิตอล ก็คือ ข้อสรุปราคาตั้งต้นใบอนุญาตช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งคาดว่า จะสรุปในอีก 3 เดือนนับจากนี้

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทที่ติดตามเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของทีวีดิจิตอล ประเมินว่า ทีวีดิจิตอลในไทย เกิดช้ามากว่า 10 ปีแล้ว จึงทำให้ ประชาชนหันไปเลือกรับชมฟรีทีวี ผ่านช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี เป็นหลัก ในปัจจุบันแทนการรับชมฟรีทีวีผ่านระบบอนาล็อก ที่ใช้ก้างปลา หรือ หนวดกุ้ง และอนาคตก็จะเป็นเช่นนี้ต่อไป แม้ทีวีดิจิตอลจะเกิดขึ้น

การเกิดของทีวีดิจิตอลในช่องฟรีทีวี โดยเฉพาะช่องธุรกิจ ที่กสทช.กำหนดให้มี 24 ช่อง จะทำให้เกิดการแข่งขันกันรุนแรง โดยบริษัทสื่อที่มีอยู่ในไทย มีแนวโน้มเข้าร่วมประมูลทั้งหมด ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เช่น เวิร์คพ้อยท์ แกรมมี่ อาร์เอส หรือ เนชั่น ซึ่งต่างก็มีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งด้านงบลงทุน การผลิตเนื้อหาป้อนช่องรายการ การส่งเสริมงานด้านบริการ หรือ อีเวนต์ต่างๆ การฝึกอบรมบุคลากร หรือ ให้เช่าอุปกรณ์ถ่ายทำรายการ เพื่อแข่งขันทั้งในประเทศ รวมถึงการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558
 
แต่ปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนทีวีระบบดิจิตอล คือ ความคุ้มค่าการลงทุน และรายได้จากโฆษณา ขณะเดียวกัน ก็น่าจับตาว่า กลุ่มประเภทให้บริการชุมชน 12 ช่อง และสาธารณะ อีก 12 ช่อง ที่ไม่ต้องประมูลนั้น จะได้รับความสนใจเพียงใด

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลจะทำให้ผู้บริโภคจะต้องหาเครื่องแปลงสัญญาณ ที่รับระบบดิจิตอลได้เท่านั้น ซึ่ง สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็เห็นว่า กสทช.ต้องหามาตรช่วยเหลือผู้บริโภค ที่มีกว่า 20 ล้านครัวเรือน

การเกิดของทีวีดิจิตอล 48 ช่อง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและแข่งขันในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก โดยมิติของการลงทุน จะเอื้อประโยชนต่อผู้ประกอบการรายใหญ่ จากฝั่งฟรีทีวีกลุ่มเดิมที่ต้องการรักษาตลาด รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า พร้อมเห็นว่า จะมีครัวเรือนที่รับชมทีวีระบบดิจิตอล ตามเมืองใหญ่ มากถึงร้อยละ 80% และจะทำให้ กล่องรับสัญญาณ หรือ Set-top box ที่รองรับระบบนี้ เพิ่มขึ้นรวมกัน กว่า 7,000,000 เครื่อง แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้เป็นไปอย่างล่าช้า ไทยก็จะมีความเสี่ยง เกี่ยวกับอุปกรณ์การใช้งานในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากทั่วโลกจะยกเลิกผลิตอุปกรณ์ที่ใช้กับเทคโนโลยีในระบบอนาล็อก และยังส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาปีละ 60,000 ล้านบาท กระจุกตัวอยู่แค่ช่องฟรีทีวีเหมือนเดิม

THAIpbs
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%88%E0%B8%B1
%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2-
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8
%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0
%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5
%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8
%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-56

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : 21 ธ.ค. 55 23:13:31




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com