 |
_____________________________
1 ปี กสทช. กับความล้มเหลวในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค
เวทีสาธารณะ การประเมินบทบาทการทำงานของ กสทช. ต่อการปฏิบัติอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งด้านกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม บุคคลจากหลายฝ่ายที่เข้าร่วมต่างเห็นว่า 1 ปีที่ผ่านมา กสทช.ประสบความล้มเหลว ในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ขณะเดียวกันยังประเมินว่า ปีหน้า กสทช.ยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงในการฟ้องร้องงานด้านโทรคมนาคม และด้านกระจายเสียงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดความชัดเจน
"เวทีเสวนาสาธารณะ 1 ปี กสทช. ความสมหวัง หรือ ไม่สมหวังของสังคมไทย" ผู้ที่อยู่ในแวดวงกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งนักวิชาการ, นักกฎหมาย รวมไปถึง ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สะท้อนว่า กสทช.ประสบความล้มเหลวในมิติงานคุ้มครองผู้บริโภค แม้บางเรื่องจะออกประกาศบังคับใช้ไปแล้ว เช่น การกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่,เอสเอ็มเอสขยะ, ค่าบริการเกินจริง, โครงข่ายล่ม, ขาดกลไกเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคในระยะยาว
รวมถึงปัญหาสัญญาสัมปทานโทรคมนาคม บริษัท ทรู ที่จะหมดลงในเดือนกันยายนปีหน้า ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่ และอาจกระทบต่อลูกค้าของเครือข่าย"ทรู" กว่า 20 ล้านเลขหมาย รวมถึงอัตราค่าบริการในระบบ 3 จี
ขณะที่ภารกิจงานด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ จะยังเป็นภาระหนักของกสทช. ทั้งการเรียกคืนสัมปทานคลื่นความถี่ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อนำจัดสรรให้ใบอนุญาต หรือเข้าสู่ระบบการประมูล
และการประมูลทีวีระบบภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในปีหน้าที่จะถูกจับตาดูถึงความโปร่งใส และการเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม และทั่วถึง, นักวิชาการหลายคน เสนอแนะว่าสิ่งที่ กสทช. ต้องดำเนินการคือทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ เพราะสื่อในปัจจุบัน อาจไม่ได้เป็น
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมา กสทช ม่มีผลงานปรากฏ ทั้งๆ ที่เป็นองค์กรที่มีพนักงานประมาณ 1,000 คน มีการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนมาก โดย ปี 2554 กสทช.ใช้จ่ายสูงถึง 1 พัน 400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน , ค่าจ้างที่ปรึกษางานต่างๆ ค่าเดินทางทั้งในและต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานที่ผ่านมา กสทช. อาททำงาน ไม่คุ้มกับงบประมาณ
THAI PBS http://news.thaipbs.or.th/content/1-%E0%B8%9B%E0%B8%B5- %E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A- %E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2 %E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB %E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B4 %E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84 %E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD %E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3 %E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84
_____________________________
วงเสวนาประเมิน 1 ปี กสทช. ล้มเหลว-เสี่ยงถูกฟ้องร้องในปีหน้า
ตลอด 1 ปี ที่มีองค์กรอิสระ อย่าง กสทช. หลายฝ่ายเห็นว่า ในปีหน้า(2555) กสทช.ยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงในการฟ้องร้องงานด้านโทรคมนาคมและด้านกระจายเสียงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดความชัดเจน
"เวทีเสวนาสาธารณะ 1 ปี กสทช. ความสมหวัง หรือ ไม่สมหวังของสังคมไทย" ได้แลกเปลี่ยนความเห็นภารกิจงานของ กสทช. จากผู้ที่อยู่ในแวดวงกิจการโทรคมนาคม และ กิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
โดยภาพรวมเห็นว่า ที่ผ่านมา แม้ กสทช. ออกมาตรการออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ค่าปรับเอกชน ที่ห้ามกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงิน แต่ กสทช. ก็ไม่ดำเนินการใดๆ การปกป้องประโยชน์สาธารณะ/การส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน และ ราคาค่าบริการ 3จี ที่ยังไม่กำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการประมูล
การไม่สั่งปรับทางปกครองกับค่ายมือถือ ที่กำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงิน ซึ่ง กสทช. ออกประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี(2555) การแก้ปัญหาให้กับลูกค้าทรู ที่สัญญาจะหมด สัมปทานเดือนกันยายน 2556 หรือ กระบวนการจัดประมูลใบอนุญาต 4 จี
นอกจากนี้ สิ่งที่ กสทช. จะต้องเผชิญ คือ ปัญหาการเรียกคืนคลื่นความถี่ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่มีผู้ครอบครองคลื่นความถี่ การจัดสรรใบอนุญาต และการ ประมูลทีวีดิจิตอล สิ่งสำคัญ คือ กระบวนการที่ทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ
โดยเห็นว่าที่ผ่านมา การบังคับใช้กฎหมายของ กสทช.อย่างไม่จริงจัง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.และเสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องในปีหน้า(2556)
THAI PBS http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8 %AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8% B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99-1-%E0%B8%9B%E0%B8%B 5-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A- %E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5% E0%B8%A7- %E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87% E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0 %B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0% B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8 %B2
________________________________
'สมเกียรติ' จวก กสทช. ผลงาน 1 ปีไร้ประโยชน์สาธารณะ
"สมเกียรติ อ่อนวิมล" จวกยับผลการทำงาน 1 ปี กสทช.ไร้ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์จับต้องได้ จี้เรียกคืนคลื่นเพื่อจัดสรร ด้าน "พิรงรอง รามสูต" ย้ำผลักกรอบกำกับดูแล แนะ กสทช.ทุกคนต้องคุยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเพื่อสร้างผลงานให้ตัวเอง...
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล รองประธานกรรมการบริหารสปริงนิวส์ กล่าวในงานเสวนา NBTC Public Forum ครั้งที่ 11 หัวข้อ 1 ปี กสทช. กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทยว่า สิ่งที่ไม่เกิดขึ้นตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และผลประโยชน์ที่จับต้องได้ ซึ่งเสียหายนับหมื่นล้านบาท ขณะที่ภาพรวมในการออกใบอนุญาต 3จี ต้องประมูลให้ได้ราคามาก แต่พอออกมาได้น้อยก็ถูกตำหนิ และ กสทช.ไม่ได้เขียนในเงื่อนไขการประมูลว่าจะให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำอะไรให้เกิดประโยชน์สาธารณะบ้าง
รองประธานกรรมการบริหารสปริงนิวส์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ กสทช.ควรทำ คือ เร่งกระบวนการคืนคลื่นให้เร็วขึ้นแล้วจัดสรรใหม่ให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเรื่องบรอดแบนด์ ทุกประเทศที่เข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทุกโรงเรียนต้องเข้าถึงในปี 2558 ขณะที่อินโดนีเซียมีใช้ฟรีเกือบ 2 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังผิดหวังการกำกับดูแลวิทยุรายใหม่ (วิทยุชุมชน) ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ยังไม่มีประสิทธิภาพ-ประชาชนได้รับผลกระทบคลื่นรบกวน รวมทั้งคุณภาพเนื้อหา
ขณะที่เรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล กสทช.ต้องเข้าใจว่าทีวีผ่านดาวเทียมใช้เงินในการผลิตงานเท่ากัน ถ้าจะผลิตงานให้มีคุณภาพ จะมาบอกว่าทีวีช่องไหนเป็นช่องใหญ่ช่องเล็กไม่ได้ ทำอย่างไรใบอนุญาตทีวีช่องต่างๆ จะมีสัดส่วนผกผัน ถ้าใบอนุญาตสูง ช่องรายการควรจะต่ำ ควรขึ้นอยู่กับคุณภาพ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีกระแสข่าวลือว่า กสทช.รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และมีธงที่จะทำ แต่ไม่ทำตามที่รับฟัง ซึ่งเป็นข่าวลือที่จริง
นางสาวพิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะอนุกรรมการหลายชุด จากเห็นการทำงาน ภาพรวมสิ่งที่เห็น คือการผลักกรอบ กำกับดูแล ส่วนตัวมองเห็นว่า ในแง่การสร้างกรอบต้องประเมินปัญหา เพราะเป็นสูญญากาศมาก่อน ไม่มีหน่วยงานกำกับ โดยเฉพาะด้านบอร์ดคลาส ต่อมาระบุปัญหา จากนั้นดูเป้าหมายว่าจะจัดการอย่างไร แล้วจึงดูระบอบที่กำกับ ตามด้วยเครื่องมือในการกำกับดูแล และสุดท้าย กสทช.ทุกคนต้องคุยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง
ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/tech/315538
จากคุณ |
:
So magawn
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ธ.ค. 55 21:07:51
|
|
|
|
 |