Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
( ร้อง DSI ) กรณีช่อง 3 ไม่ต่อสัมปทานด้วยการประมูล!! จ่ายค่าสัมปทานถูก ( ถามกลับ..ใช้วิธีเช่าอย่างเดียว ต้นทุนถูก) vote ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก

ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ กล่าวอีกว่า แต่ปรากฎว่า ในการต่อสัญญาสัมปทานระหว่าง อ.ส.ม.ท.กับช่อง 3 เมื่อเดือน มี.ค.2553 มีการเสนอเพิ่มผลตอบแทนให้รัฐในการต่อสัญญาสัมปทาน ระยะเวลา 10 ปี มูลค่า 2,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 405 ล้าน เพราะในการต่อสัญญาสัมปทานครั้งที่ 3 ปี 2532 ได้กำหนดออฟชั่นไว้ว่า การต่อสัญญาสัมปทานจะต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้าน กรณีที่เพิ่มผลตอบแทนให้รัฐในสัญญาสัมปทานปี 2553 อีกจำนวน 405 ล้านบาท ถือว่าต่ำมากเพราะยังคิดมูลค่าเงินเมื่อกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ตนดูแล้วไม่น่าจะกระทำได้  ซึ่งในขณะทำสัญญาสัมปทานปี 2532 ยังไม่มีกฎหมาย พรบ.ร่วมทุน 2535 แต่ระหว่างอายุสัญญามีการประกาศใช้ พรบ.ร่วมทุน 2535 มาแล้ว ดังนั้นการดำเนินการต่างๆ ของ อ.ส.ม.ท.ในโครงการที่มีมูลค่าโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องปฎิบัติตาม พรบ.ร่วมทุน 2535 คือจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการ ประกวดซองราคา เพื่อจะหาผู้รับสัมปทานที่เสนอผลประโยชน์ให้กับรัฐมากที่สุด

นายธนเดช กล่าวอีกว่า แต่ในการต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี ปี 2553 ไม่มีการเปิดแข่งขันราคา ตาม พรบ.ร่วมทุน 2535 จึงไม่น่าจะถูกต้อง จึงเห็นว่าการกระทำระหว่าง อ.ส.ม.ท.กับ บริษัทบางกอกเอนเตอร์เทนเมน หรือช่อง 3 เป็นเหตุให้รัฐอาจจะเสียหายเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท เพราะถ้าดูจากผลกำไรของช่อง 3 มีกำไรเพิ่มสูงมาก หากมีการพิจารณาผู้ลงทุนรายใหม่มาร่วมกันทำสัญญาสัมปทาน มีการเปิดซองประกวดราคา รัฐอาจจะได้ผลประโยชน์มากถึง 7,000 ล้านบาท จากการคำนวณผลประโยชย์แต่ละปีของช่อง 3 จึงมาร้องดีเอสไอให้สอบสวนคณะกรรมการ บมจ.อสมท.ตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เพราะจากการกระทำต่างๆ เป็นเหตุอันควรสงสัย


“เดิมผมเป็นทนายความ ไปเรียนรัฐศาสตร์ และนำเรื่องนี้มาทำสารนิพนธ์ ผมเห็นเรื่องนี้มีลักษณะไม่น่าโปร่งใส รัฐควรได้ผลประโยชน์มากว่านี้ถ้าคำนวณจากผลตอบแทนของช่อง 3 ต่อปี จะเพิ่มปีละ 1 พันล้าน ถ้า 10 ปี จะเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้าน แต่มีการจ่ายผลประโยชน์ 10 ปี เพียง 2,405 ล้านบาท เท่ากับรัฐได้ผลประโยชน์ปีละเพียง 240 ล้านบาท ค่อนข้างต่ำ ผมพูดถึงเฉพาะรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อปี แต่ไม่ได้พูดถึงมูลค่าทั้งหมดปีละเป็นหมื่นล้านบาท ซึ่งสัมปทานดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้ได้รับสัมปทานควรจะจ่ายผลตอบแทนให้รัฐมากกว่านี้ ปัจจุบันช่อง 3 เจริญรุ่งเรือง แต่ส่วนตัวช่อง 3 จริงๆ ที่หนองแขมทรุดโทรมมาก การดำเนินการในสัญญาว่าระบุว่า ต้องก่อสร้างทรัพย์สินและยกให้ อ.ส.ม.ท.แต่ช่อง 3 ใช้วิธีเช่าอย่างเดียว ต้นทุนช่อง 3 จึงน้อยมาก”















________________________________


ร้องDSIสอบบอร์ด อสมท.ต่อสัญญาสัมปทานช่อง 3 ขัด พรบ.ทุนฯ



ชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ ร้อง DSI สอบบอร์ด อสมท.กรณีต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี ช่อง 3 ปี 2553 อ้าง ขัด พรบ.ร่วมทุนฯ35 หลังไม่เปิดการประมูลแข่งขันราคา

ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 28 ธ.ค.55 นายธนเดช พ่วงพูล ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ เข้ายื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีระหว่างบริษัท อ.ส.ม.ท.จำกัด (มหาชน) กับบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้น จำกัด หรือช่อง 3 ระยะเวลา 10 ปี เมื่อปี 2553 อ้างไม่มีการเปิดประมูลแข่งขันราคาตาม พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 และมีการกระทำผิดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานฉบับเดิม จึงไม่มีสิทธิต่อสัญญาสัมปทานฉบับใหม่ เบื้องต้นดีเอสไอมอบให้สำนักงานคดีอาญาพิเศษ 2 ดีเอสไอ เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง

นายธนเดช พ่วงพูล ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ กล่าวว่า สืบเนื่องจากกรณี อ.ส.ม.ท.กับช่อง 3 ได้ต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี ออกไปอีก 10 ปี เมื่อปี 2535 ซึ่งในการต่อสัญญาดังกล่าวทางชมนมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ พิจารณาแล้วมีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลหรือไม่โปร่งใส เพราะในการต่อสัญญาสัมปทานฉบับล่าสุดปี 2553 ปรากฎว่าขณะนั้นประธานกรรมการใหญ่ อ.ส.ม.ท.ได้เสนอความเห็นไปทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)ว่า การต่อสัญญาสัมปทานระหว่างช่อง 3 กับ อ.ส.ม.ท.ดำเนินการได้หรือไม่ ก่อนที่ สคร.มีความเห็นกลับมาว่าควรปฎิบัติตาม พรบ.ร่วมทุนปี พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้โครงการที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องเปิดประมูลแข่งขันราคา อีกทั้งในขณะนั้น อ.ส.ม.ท.ได้มีการเสนอขอความเห็นไปยังกระทรวงการคลัง ก่อนกระทรวงการคลังจะมีความเห็นตอบกลับมาว่า อ.ส.ม.ท.ต้องปฎิบัติตามความเห็นของ สคร.

ประธานชมรมนักกฎหมายพิทักษ์ผลประโยชน์รัฐ กล่าวอีกว่า แต่ปรากฎว่า ในการต่อสัญญาสัมปทานระหว่าง อ.ส.ม.ท.กับช่อง 3 เมื่อเดือน มี.ค.2553 มีการเสนอเพิ่มผลตอบแทนให้รัฐในการต่อสัญญาสัมปทาน ระยะเวลา 10 ปี มูลค่า 2,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 405 ล้าน เพราะในการต่อสัญญาสัมปทานครั้งที่ 3 ปี 2532 ได้กำหนดออฟชั่นไว้ว่า การต่อสัญญาสัมปทานจะต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้าน กรณีที่เพิ่มผลตอบแทนให้รัฐในสัญญาสัมปทานปี 2553 อีกจำนวน 405 ล้านบาท ถือว่าต่ำมากเพราะยังคิดมูลค่าเงินเมื่อกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ตนดูแล้วไม่น่าจะกระทำได้  ซึ่งในขณะทำสัญญาสัมปทานปี 2532 ยังไม่มีกฎหมาย พรบ.ร่วมทุน 2535 แต่ระหว่างอายุสัญญามีการประกาศใช้ พรบ.ร่วมทุน 2535 มาแล้ว ดังนั้นการดำเนินการต่างๆ ของ อ.ส.ม.ท.ในโครงการที่มีมูลค่าโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องปฎิบัติตาม พรบ.ร่วมทุน 2535 คือจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการ ประกวดซองราคา เพื่อจะหาผู้รับสัมปทานที่เสนอผลประโยชน์ให้กับรัฐมากที่สุด

นายธนเดช กล่าวอีกว่า แต่ในการต่อสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี ปี 2553 ไม่มีการเปิดแข่งขันราคา ตาม พรบ.ร่วมทุน 2535 จึงไม่น่าจะถูกต้อง จึงเห็นว่าการกระทำระหว่าง อ.ส.ม.ท.กับ บริษัทบางกอกเอนเตอร์เทนเมน หรือช่อง 3 เป็นเหตุให้รัฐอาจจะเสียหายเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท เพราะถ้าดูจากผลกำไรของช่อง 3 มีกำไรเพิ่มสูงมาก หากมีการพิจารณาผู้ลงทุนรายใหม่มาร่วมกันทำสัญญาสัมปทาน มีการเปิดซองประกวดราคา รัฐอาจจะได้ผลประโยชน์มากถึง 7,000 ล้านบาท จากการคำนวณผลประโยชย์แต่ละปีของช่อง 3 จึงมาร้องดีเอสไอให้สอบสวนคณะกรรมการ บมจ.อสมท.ตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เพราะจากการกระทำต่างๆ เป็นเหตุอันควรสงสัย

“เดิมผมเป็นทนายความ ไปเรียนรัฐศาสตร์ และนำเรื่องนี้มาทำสารนิพนธ์ ผมเห็นเรื่องนี้มีลักษณะไม่น่าโปร่งใส รัฐควรได้ผลประโยชน์มากว่านี้ถ้าคำนวณจากผลตอบแทนของช่อง 3 ต่อปี จะเพิ่มปีละ 1 พันล้าน ถ้า 10 ปี จะเพิ่มเป็น 1 หมื่นล้าน แต่มีการจ่ายผลประโยชน์ 10 ปี เพียง 2,405 ล้านบาท เท่ากับรัฐได้ผลประโยชน์ปีละเพียง 240 ล้านบาท ค่อนข้างต่ำ ผมพูดถึงเฉพาะรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อปี แต่ไม่ได้พูดถึงมูลค่าทั้งหมดปีละเป็นหมื่นล้านบาท ซึ่งสัมปทานดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้ได้รับสัมปทานควรจะจ่ายผลตอบแทนให้รัฐมากกว่านี้ ปัจจุบันช่อง 3 เจริญรุ่งเรือง แต่ส่วนตัวช่อง 3 จริงๆ ที่หนองแขมทรุดโทรมมาก การดำเนินการในสัญญาว่าระบุว่า ต้องก่อสร้างทรัพย์สินและยกให้ อ.ส.ม.ท.แต่ช่อง 3 ใช้วิธีเช่าอย่างเดียว ต้นทุนช่อง 3 จึงน้อยมาก”

นายธนเดช กล่าวต่ออีกว่า ในสัญญาสัมปทานเดิมระบุว่าการกรณีการต่อสัญญาสัมปทาน 10 ปี หากช่อง 3 ไม่ทำผิดสัญญา ซึ่งในการตรวจสอบขณะที่จะต่อสัญญาสัมปทานทาง อสมท.มีหนังสือบอกกล่าวไปยังช่อง 3 จำนวน 2 ครั้ง อ้างว่าช่อง 3 ทำผิดสัญญา เรื่องสังหาริมทรัพย์ที่ต้องก่อสร้างและโอนให้ อ.ส.ม.ท.แต่ไม่ทำ และกรณีที่ให้บริษัทบีบีซีเวลิด์ เข้ามาดำเนินการแทนบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นท์ ซึ่งตามสัญญากำหนดไว้ชัดว่าการดำเนินการของสัญญาออกอากาศจะดำเนินการได้ เฉพาะบริษัทบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นท์ แต่มีช่วงหนึ่งที่ให้บริษัทบีอีซีเวลิด์ มาเป็นผู้อำนวยการและขึ้นโลโก้ ถือว่าการกระทำผิดสัญญาชัดเจน จึงไม่ควรมีการต่อสัญญาสัมปทานออกไปอีก แต่ระหว่างนั้นไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น อ.ส.ม.ท.ออกมาแถลงจะเรียกให้ช่อง 3 จ่ายผลประโยชน์เพิ่มอีก 400 ล้านบาท ส่วนเรื่องที่ช่อง 3 ทำผิดสัญญา ทางช่อง 3 ได้ชี้แจงก็ยกเลิกไม่ดำเนินการต่อ ตนเห็นว่าการทำผิดสัญญา 2 ครั้ง เป็นเหตุที่คณะกรรมการ อสมท.ไม่ควรต่อสัญญาอีก ต้องจัดหาผู้ประมูลใหม่ตาม พรบ.ร่วมทุน 2535



แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/35678

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : 28 ธ.ค. 55 22:36:08




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com